วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551

ผลการวิจัย

นางขวัญใจ ชูมณี “ หมออ้วน ” รหัส 245
ชื่อเรื่องที่วิจัย “ การศึกษาพฤติกรรมของสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพที่เข้มแข็งและยั่งยืน ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ”
คำถามการวิจัย “ ชมรมสร้างสุขภาพในตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืน สมาชิกของชมรมมีพฤติกรรมอย่างไร

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาบริบทของต้นทุนทางสังคม ต้นทุนทางวัฒนธรรม และต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมของชุมชน
2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพที่เข้มแข็งและยั่งยืน
3. เพื่อศึกษาแนวทางสร้างเครือข่ายของสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพที่เข้มแข็งและยั่งยืน

ตัวแปรต้น
1. บริบทของต้นทุน
- ทุนทางสังคม
- ทุนทางวัฒนธรรม
- ทุนทางสิ่งแวดล้อม
2. ปัจจัยที่มีผลต่อชมรมสร้างสุขภาพ
2.1 การก่อเกิดของชมรมสร้างสุขภาพ
2.2 กระบวนการดำเนินงานชมรมสร้างสุขภาพ
- การบริหารจัดการ
- กิจกรรมของชมรมสร้างสุขภาพ
- การขยายเครือข่าย
- ปัญหา – อุปสรรค
2.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น / วัฒนธรรม
2.4 ระบบเศรษฐกิจ / การประกอบอาชีพ
2.5 สิ่งแวดล้อม / ทรัพยากร
2.6 นโยบายรัฐบาล
2.7 การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ
ภาคเอกชน
ตัวแปรตาม
1. พฤติกรรมของสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพ
- ด้านออกกำลังกาย
- ด้านอาหารปลอดภัย
- ด้านสุขภาพจิต
- ด้านการป้องกันโรค
- ด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม
- ด้านสิ่งเสพติดและการพนัน
2. ระบบสุขภาพ
3. ความเข้มแข็งและยั่งยืนของชมรมสร้างสุขภาพ
ตัวแปรในแบบสอบถาม
ตัวแปรในข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง อาชีพหลัก การศึกษา ศาสนา โรคประจำตัว ระยะเวลาที่เป็นสมาชิกชมรม เหตุผลที่เข้าเป็นสมาชิกชมรม
ตัวแปรด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ได้แก่ การออกกำลังกายในรอบ 3 เดือน ระดับความเหนื่อยในการออกกำลังกาย จำนวนวันที่ออกกำลังกายใน 1 สัปดาห์ ระยะเวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง สถานที่ที่ออกกำลังกาย การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย
ตัวแปรด้านการบริโภคอาหารปลอดภัย ได้แก่ ป้ายสัญลักษณ์อาหารปลอดภัย วิธีการเลือกซื้อผัก ตราสัญลักษณ์ “ อย. ” การตัดสินใจซื้ออาหารแปรรูป วันผลิต/วันหมดอายุบนผลิตภัณฑ์แปรรูป วิธีเลือกอาหารแปรรูปที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ ป้ายสัญลักษณ์ “ อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ” การเลือกซื้ออาหารปรุงสำเร็จ การล้างผักและผลไม้ การใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร ความสุกของอาหารประเภทปิ้ง/ย่างที่รับประทาน การรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ความบ่อยในการรับประทานผัก ความบ่อยในการรับประทานผลไม้
ตัวแปรด้านการลดความเครียด และการจัดการกับความเครียด ได้แก่ อาการที่เป็นในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา สาเหตุของความเครียด การจัดการความเครียดด้วยตนเอง
ตัวแปรด้านการป้องกันโรค ได้แก่ การตรวจวัดความดันโลหิตในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ในปัสสาวะในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา การตรวจมะเร็งปากมดลูกในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา การตรวจมะเร็งเต้านมในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
ตัวแปรด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การมีถังขยะในบ้าน การกำจัดขยะ ความบ่อยในการทำความสะอาดบ้าน การมีส่วนร่วมในการดูแล/รักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ตัวแปรด้านสิ่งเสพติดและการพนัน ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ การเสพ
สารเสพติด สาเหตุของการเสพสารเสพติด การเล่นการพนัน ปัญหาที่มาจากการเล่นการพนัน
ตัวแปรด้านแนวทางการดูแลสุขภาพ ได้แก่ การดูแลตนเองเทื่อมีอาการเจ็บป่วย
การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยทบทวนกระบวนการวิจัย การเก็บข้อมูลและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาจากการจดบันทึกและตอบแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์และนำเสนอตามประเด็นที่กำหนดในวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. วิเคราะห์เชิงพรรณนาตามประเด็น
- การก่อเกิดชมรม กิจกรรมของชมรม การขยายเครือข่าย นโยบายภาครัฐที่มีผลต่อพฤติกรรมของสมาชิกชมรม ระบบภูมิปัญญาท้องถิ่น/วัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมของสมาชิกชมรม ระบบเศรษฐกิจ/การประกอบอาชีพที่มีผลต่อพฤติกรรมของสามชิกชมรม สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมของสมาชิกชมรม การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน ปัญหา-อุปสรรคในการดำเนินงานชมรม
2. วิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพของสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพ โดยใช้สถิติร้อยละ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. การก่อเกิดชมรมสร้างสุขภาพ มี 2 รูปแบบ ได้แก่
1.1 เกิดขึ้นโดยประชาชน
1.2 เกิดขึ้นโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นผู้ผลักดัน
2. กระบวนการดำเนินงานชมรมสร้างสุขภาพ
มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารชมรม และมีการกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน แต่บางชมรมถ้าคณะกรรมการที่รับผิดชอบมีภาระงานมากคณะกรรมการท่านอื่นก็จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานชมรมสร้างสุขภาพ การบริหารงานโปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมทั้งมีกฎ กติกาในการทำงาน
3. ลักษณะของประธาน
มีความเสียสละ เป็นที่ยับถือ ประสานการทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและสมาชิกชมรมได้ดี
ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน ทั้งเรื่องงบประมาณ ทัพยากร วัสดุอุปกรณ์ มีความรับผิดชอบ มีความตั้งใจในการทำงาน เป็นที่ปรึกษา มีเหตุผล ตรงต่อเวลา กล้าคิดกล้าทำ
4. บทบาทของประธาน
- เป็นผู้นำในการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพ และดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างสุขภาพ
- ประสานการดำเนินงานของชมรม ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและสมาชิกชมรม
- สนับสนุนการดำเนินงานด้านต่างๆ เช่น ทรัพยากร วัสดุอุปกรณ์ ตามความพร้อมของประธาน
- ให้คำปรึกษาแก่สมาชิกในทุกๆเรื่อง
5. สมาชิก
จำนวนสมาชิกของชมรมสร้างสุขภาพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม วิธีการจูงใจให้คนสมัครเป็นสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพโดยวิธีการบอกปากต่อปาก การประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว การสาธิตการออกกำลังกาย และการที่สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมแล้วเห็นว่าได้รับประโยชน์ สามารถควบคุมโรค/ปัญหาสุขภาพของตนเองได้ก็จะเชิญชวนญาติและเพื่อนบ้านมาร่วมกิจกรรมของชมรมสร้างสุขภาพ
6. ทรัพยากร
ชมรมสร้างสุขภาพ เมื่อแรกเริ่มมีการจัดเก็บค่าสมาชิก แต่ในปัจจุบันทุกชมรมไม่มีการเรียกเก็บเงินจากสมาชิก สมาชิกสามารถมาร่วมกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ชมรมได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักการเมือง หน่วยงานสาธารณสุข เงินรางวัลจากการประกวดต่างๆมาจัดตั้งเป็นกองทุนของชมรม
7. กิจกรรมของชมรม
การวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพของสมาชิกร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรมสร้างสุขภาพ
ประกอบด้วย การออกกำลังกาย กิจกรรมการให้ความรู้เรื่อง 5 อ. การให้คำปรึกษาเรื่องต่างๆระหว่างสมาชิก การปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภค การทำอาหารสุขภาพรับประทานร่วมกัน การผลิตอาหารสุขภาพ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจำหน่าย การตรวจสุขภาพและการประเมินสมรรถภาพทางกาย การร่วมรณรงค์ทางด้านสาธารณสุข
8. การขยายเครือข่าย
ชมรมสร้างสุขภาพต้นแบบทุกชมรมเมื่อมีการดำเนินกิจกรรมการสร้างสุขภาพแล้ว ได้มีการขยาย
เครือข่ายไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง โดยการไปสาธิต ฝึกทักษะ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสนับสนุน การศึกษาดูงานของชมรมสร้างสุขภาพ ในหมู่บ้าน ตำบล และอำเภออื่นๆ
9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชมรมสร้างสุขภาพ 3 ชมรมไม่มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ ส่วนชมรมอื่นๆมีการนำภูมิปัญญา
ท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้และมีผลต่อการจัดกิจกรรมของชมรมสร้างสุขภาพ ได้แก่ ท่ารำมโนราห์
10. เศรษฐกิจ / การประกอบอาชีพ
เศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ มีผลต่อการรวมกลุ่มทำกิจกรรมของชมรมสร้างสุขภาพ เนื่องจาก
สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เมื่อทำงานเสร็จกลับถึงบ้านเป็นเวลาเย็นมาก ทำให้สมาชิกมีเวลาในการทำกิจกรรมน้อย หรือไม่มีเวลามารวมกิจกรรมของกลุ่ม
11. สิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน
สภาพแวดล้อมในหมู่บ้าน พบว่า บ้านของสมาชิกอยู่รวมกันเป็นกลุ่มไม่ห่างกันมาก ทำให้สมาชิก
สามารถมารวมกลุ่มเพื่อจัดกิจกรรมได้สะดวก และการเดินทางไม่ลำบาก
12. นโยบายของรัฐบาล
นโยบายการสร้างสุขภาพจะเกี่ยวข้องกับ เรื่องการออกกำลังกาย อาหาร รวมทั้งการปราบปราม
ยาเสพติดและการพนัน

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ขนอม แห่งความทรงจำ

วันที่ไปสัมนาที่ขนอม หลายๆคนรู้สึกมีความสุขและสนุกสนาน แต่ในวันนั้นมีบางคนที่ไม่สนุกด้วยเลย ด้วยเพราะว่ามีความเจ็บป่วยเกิดขึ้นด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ มีทั้งครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อย เจ็บคอ ไอ ขมปาก ฯลฯ อยากพักผ่อนเต็มหัวใจแต่ก็ทำไม่ได้ ต้องไปร่วมกับสมาชิกที่ขนอม ทั้งไปและกลับต้องนอนในรถตลอดทาง ในวันนั้นต้องขอขอบคุณพี่ศิวพรเป็นอย่างสูงที่ช่วยพาดิฉันไปถึงขนอมด้วย เนื่องจากตัวดิฉันเองขับรถไม่ไหวจริงๆ สำหรับรอบหน้าไปชะอวดดิฉันค่อยขับให้พี่ศิวพรนั่งนะคะ ต้องขอโทษเพื่อนๆด้วยนะที่ดิฉันกลับก่อนทุกๆคน ประกอบกับต้องกลับมาฉีดยา M...............ให้แม่ที่ป่วยด้วยโรค CA ด้วย ขอโทษจริงๆ ครั้งต่อไปจะไม่พลาดขอพักแคมป์กับทุกๆคนด้วย

ขอขอบคุณอาจารย์รวม น้องตุ๊ก และชาวขนอม ที่เป็นเจ้าภาพต้อนรับ นศ.ป.โท อย่างดียิ่ง ขอบคุณจริงๆ


ขวัญใจ

ขอคุยหน่อยนะ

ก่อนอื่น ก็ขอบอกเพื่อนๆทุกคนนะว่า ขณะนี้การเรียนของพวกเราอย่ในเทอมที่ 3 แล้ว ทุกคนพอจะทราบแล้วว่าใครเป็นใคร (ทุกๆเรื่อง) บางครั้งปรากฏการณ์ที่เราไม่คาดคิดอาจจะเกิดขึ้น สำหรับตัวของผู้ที่ทำหน้าที่เป็นเหรัญญิกห้อง รู้สึกอึดอัดมากๆในการขอเก็บเงินจากสมาชิกแต่ละครั้ง ถ้าสมาชิกมีความเข้าใจในการทำงานของเหรัญญิกก็จะดี แต่บางคนไม่เข้าใจมีการโทรฯไปต่อว่าเหรัญญิก ว่าการทำงานของเหรัญญิกในลักษณะนี้ไม่ถูกต้อง ซึ่งดิฉันคิดว่าการทำงานในลักษณะที่ทำอยู่นั้น ดิฉันได้ปรึกษาคณะกรรมการของห้องแล้วและได้รับการเห็นชอบให้ทำแบบนั้นได้ เช่น การประกาศรายละเอียด ,ชื่อ............หน้าห้อง ฯลฯ ซึ่งดิฉันก็ได้ปรึกษาคณะกรรมการของห้องเพื่อขอยุติบทบาทที่ช่วยเหลือห้องในเรื่องของการเป็นเจ้าหน้าที่การเงินประจำห้อง แต่ก็ได้รับการปฏิเสธในการยุติบทบาทของดิฉัน มีแต่ให้กำลังใจดิฉันและขอให้ดิฉันทำหน้าที่ต่อไป

ดิฉันขอขอบคุณเพื่อนๆทุกคนที่เข้าใจและให้กำลังใจมาตลอด ดิฉันต้องขออนุญาตบอกเพื่อนๆทุกคนว่า ให้ช่วยกันประหยัดเงินสวัสดิการของห้องด้วย เพื่อไม่ให้เพื่อนบางคนเดือดร้อนในการที่จะต้องเสียเงินสวัสดิการบ่อย

ขอบคุณทุกท่าน
จาก การเงิน นศ.ป.โท

การเรียนคอมพิวเตอร์ ที่รร.เตรียมอุดมฯ

วิชาคอมพิวเตอร์ ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองไม่สามารถพาตัวเองได้ในเรื่องที่อาจารย์สอน ต้องอาศัยตัวช่วยหลายๆคนช่วยกันแนะนำ ดิฉันขอบคุณเพื่อนหลายๆคนที่ช่วยเหลือให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นในวิชานี้

ปกติ ในงาน routine ที่ทำอยู่ในแต่ละวัน program ที่ใช้จะใช้เฉพาะ word exell powerpoint ดังนั้น เมื่อมาเจอสิ่งที่อาจารย์สอน ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าดิฉันต้องมีความพยายามอีกเยอะมากในวิชานี้ จากที่เรียนมา 3 เทอมดิฉันมีความรู้สึกว่าวิชาคอมพิวเตอร์เป็นวิชาที่ยากที่สุด

ขอบคุณเพื่อนๆทุกคน ที่ช่วยเหลือกันอย่างดี (ถ้าเป็นวิชาที่คิดเกรดแล้วแย่เลยหล่ะสำหรับขวัญใจ)

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551

หัวข้อที่สนใจศึกษา

สุขภาพดี อยู่ที่พฤคิกรรมสุขภาพของแต่ละบุคคล
พฤติกรรมสุขภาพจะประกอบด้วย 6 อ. คือ
1. พฤติกรรมด้านอาหาร รับประทานอาหารที่มีคุณค่า และมีประโยชน์ ปลอดภัยไม่กินอาหารที่บั่นทอนสุขภาพ
2. พฤติกรรมด้านอารมณ์ มีอารมณ์แจ่มใสไม่เครียด ร้จักการจัดการกับความเครียด ลดความวิตกกังวล
3. พฤติกรรมด้านอโรคยา การป้องกันโรคที่สามารถป้องกันได้ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก
4. พฤติกรรมด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม จัดบ้านเรือนให้ถูกสุขลักษณะ ไม่รกรุงรัง ไม่มีน้ำขังเฉอะแฉะข้างบ้าน อันเป็นที่เพาะพันธุ์ของพาหะนำโรค
5. พฤติกรรมด้านอบายมุข และการพนัน หลีกเลี่ยงการย่งเกี่ยวกับยาเสพติด การพนัน
6. พฤติกรรมด้านออกกำลังกาย โดยออกกำลังกายไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้ละ 30-50นาที
ทั้งนี้ ทุกคนจะต้องเข้าใจในพฤติกรรมของตนเอง ว่าตนเองมีพฤติกรรมอย่างไร ถูกต้องหรือไม่ จะทำอย่างไรหรือปรับ Life style ของตนเองอย่างไร เพื่อให้มีสุขภาพที่ดียืนยาว อย่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลานและเป็นปูชนียบุคคลของชุมชน ในภาครัฐจะเน้นให้ชุมชนมีการรวมกล่มเพื่อให้มีพลังที่เข้มแข็ง เช่น กลุ่มสร้างสุขภาพ กลุ่มผ้สูงอายุ กลุ่มวัยทอง กลุ่มวัยทำงาน เป็นต้น

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551

หมออนามัยในวันนี้ คือ ที่พึ่งด่านแรกของชุมชน

ประชาชนจะมีสุขภาพดีได้นั้น ไม่ได้อยู่ที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่อยู่ที่ตัวประชาชนเอง ที่จะต้องสนใจในสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 6 อ. ที่ประชาชนต้องรู้และปฏิบัติด้วยตนเอง นั่นก็คือ
อ. ออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ๆละ 30-45 นาที
อ. อาหารที่มีคุณค่า
อ. อนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี
อ. อโรคยา การป้องกันโรคที่ป้องกันได้ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
อ. อบายมุข และการพนัน ควรหลีกเลี่ยง
อ. อารมณ์ มีจิตใจที่แจ่มใสเบิกบาน