วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2551

ผลการวิจัย

นางขวัญใจ ชูมณี “ หมออ้วน ” รหัส 245
ชื่อเรื่องที่วิจัย “ การศึกษาพฤติกรรมของสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพที่เข้มแข็งและยั่งยืน ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ”
คำถามการวิจัย “ ชมรมสร้างสุขภาพในตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืน สมาชิกของชมรมมีพฤติกรรมอย่างไร

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาบริบทของต้นทุนทางสังคม ต้นทุนทางวัฒนธรรม และต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมของชุมชน
2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพที่เข้มแข็งและยั่งยืน
3. เพื่อศึกษาแนวทางสร้างเครือข่ายของสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพที่เข้มแข็งและยั่งยืน

ตัวแปรต้น
1. บริบทของต้นทุน
- ทุนทางสังคม
- ทุนทางวัฒนธรรม
- ทุนทางสิ่งแวดล้อม
2. ปัจจัยที่มีผลต่อชมรมสร้างสุขภาพ
2.1 การก่อเกิดของชมรมสร้างสุขภาพ
2.2 กระบวนการดำเนินงานชมรมสร้างสุขภาพ
- การบริหารจัดการ
- กิจกรรมของชมรมสร้างสุขภาพ
- การขยายเครือข่าย
- ปัญหา – อุปสรรค
2.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น / วัฒนธรรม
2.4 ระบบเศรษฐกิจ / การประกอบอาชีพ
2.5 สิ่งแวดล้อม / ทรัพยากร
2.6 นโยบายรัฐบาล
2.7 การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ
ภาคเอกชน
ตัวแปรตาม
1. พฤติกรรมของสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพ
- ด้านออกกำลังกาย
- ด้านอาหารปลอดภัย
- ด้านสุขภาพจิต
- ด้านการป้องกันโรค
- ด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม
- ด้านสิ่งเสพติดและการพนัน
2. ระบบสุขภาพ
3. ความเข้มแข็งและยั่งยืนของชมรมสร้างสุขภาพ
ตัวแปรในแบบสอบถาม
ตัวแปรในข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง อาชีพหลัก การศึกษา ศาสนา โรคประจำตัว ระยะเวลาที่เป็นสมาชิกชมรม เหตุผลที่เข้าเป็นสมาชิกชมรม
ตัวแปรด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ได้แก่ การออกกำลังกายในรอบ 3 เดือน ระดับความเหนื่อยในการออกกำลังกาย จำนวนวันที่ออกกำลังกายใน 1 สัปดาห์ ระยะเวลาในการออกกำลังกายแต่ละครั้ง สถานที่ที่ออกกำลังกาย การบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย
ตัวแปรด้านการบริโภคอาหารปลอดภัย ได้แก่ ป้ายสัญลักษณ์อาหารปลอดภัย วิธีการเลือกซื้อผัก ตราสัญลักษณ์ “ อย. ” การตัดสินใจซื้ออาหารแปรรูป วันผลิต/วันหมดอายุบนผลิตภัณฑ์แปรรูป วิธีเลือกอาหารแปรรูปที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ ป้ายสัญลักษณ์ “ อาหารสะอาด รสชาติอร่อย ” การเลือกซื้ออาหารปรุงสำเร็จ การล้างผักและผลไม้ การใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร ความสุกของอาหารประเภทปิ้ง/ย่างที่รับประทาน การรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ความบ่อยในการรับประทานผัก ความบ่อยในการรับประทานผลไม้
ตัวแปรด้านการลดความเครียด และการจัดการกับความเครียด ได้แก่ อาการที่เป็นในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา สาเหตุของความเครียด การจัดการความเครียดด้วยตนเอง
ตัวแปรด้านการป้องกันโรค ได้แก่ การตรวจวัดความดันโลหิตในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด/ในปัสสาวะในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา การตรวจมะเร็งปากมดลูกในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา การตรวจมะเร็งเต้านมในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
ตัวแปรด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การมีถังขยะในบ้าน การกำจัดขยะ ความบ่อยในการทำความสะอาดบ้าน การมีส่วนร่วมในการดูแล/รักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ตัวแปรด้านสิ่งเสพติดและการพนัน ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ การเสพ
สารเสพติด สาเหตุของการเสพสารเสพติด การเล่นการพนัน ปัญหาที่มาจากการเล่นการพนัน
ตัวแปรด้านแนวทางการดูแลสุขภาพ ได้แก่ การดูแลตนเองเทื่อมีอาการเจ็บป่วย
การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยทบทวนกระบวนการวิจัย การเก็บข้อมูลและเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ลักษณะของข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาจากการจดบันทึกและตอบแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์และนำเสนอตามประเด็นที่กำหนดในวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. วิเคราะห์เชิงพรรณนาตามประเด็น
- การก่อเกิดชมรม กิจกรรมของชมรม การขยายเครือข่าย นโยบายภาครัฐที่มีผลต่อพฤติกรรมของสมาชิกชมรม ระบบภูมิปัญญาท้องถิ่น/วัฒนธรรมที่มีผลต่อพฤติกรรมของสมาชิกชมรม ระบบเศรษฐกิจ/การประกอบอาชีพที่มีผลต่อพฤติกรรมของสามชิกชมรม สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อพฤติกรรมของสมาชิกชมรม การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน ปัญหา-อุปสรรคในการดำเนินงานชมรม
2. วิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพของสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพ โดยใช้สถิติร้อยละ
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1. การก่อเกิดชมรมสร้างสุขภาพ มี 2 รูปแบบ ได้แก่
1.1 เกิดขึ้นโดยประชาชน
1.2 เกิดขึ้นโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นผู้ผลักดัน
2. กระบวนการดำเนินงานชมรมสร้างสุขภาพ
มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารชมรม และมีการกำหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน แต่บางชมรมถ้าคณะกรรมการที่รับผิดชอบมีภาระงานมากคณะกรรมการท่านอื่นก็จะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานชมรมสร้างสุขภาพ การบริหารงานโปร่งใส ตรวจสอบได้ รวมทั้งมีกฎ กติกาในการทำงาน
3. ลักษณะของประธาน
มีความเสียสละ เป็นที่ยับถือ ประสานการทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและสมาชิกชมรมได้ดี
ให้การสนับสนุนการดำเนินงาน ทั้งเรื่องงบประมาณ ทัพยากร วัสดุอุปกรณ์ มีความรับผิดชอบ มีความตั้งใจในการทำงาน เป็นที่ปรึกษา มีเหตุผล ตรงต่อเวลา กล้าคิดกล้าทำ
4. บทบาทของประธาน
- เป็นผู้นำในการวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพ และดำเนินการจัดกิจกรรมสร้างสุขภาพ
- ประสานการดำเนินงานของชมรม ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐและสมาชิกชมรม
- สนับสนุนการดำเนินงานด้านต่างๆ เช่น ทรัพยากร วัสดุอุปกรณ์ ตามความพร้อมของประธาน
- ให้คำปรึกษาแก่สมาชิกในทุกๆเรื่อง
5. สมาชิก
จำนวนสมาชิกของชมรมสร้างสุขภาพส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม วิธีการจูงใจให้คนสมัครเป็นสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพโดยวิธีการบอกปากต่อปาก การประชาสัมพันธ์ทางหอกระจายข่าว การสาธิตการออกกำลังกาย และการที่สมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมแล้วเห็นว่าได้รับประโยชน์ สามารถควบคุมโรค/ปัญหาสุขภาพของตนเองได้ก็จะเชิญชวนญาติและเพื่อนบ้านมาร่วมกิจกรรมของชมรมสร้างสุขภาพ
6. ทรัพยากร
ชมรมสร้างสุขภาพ เมื่อแรกเริ่มมีการจัดเก็บค่าสมาชิก แต่ในปัจจุบันทุกชมรมไม่มีการเรียกเก็บเงินจากสมาชิก สมาชิกสามารถมาร่วมกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ชมรมได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักการเมือง หน่วยงานสาธารณสุข เงินรางวัลจากการประกวดต่างๆมาจัดตั้งเป็นกองทุนของชมรม
7. กิจกรรมของชมรม
การวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพของสมาชิกร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จัดกิจกรรมสร้างสุขภาพ
ประกอบด้วย การออกกำลังกาย กิจกรรมการให้ความรู้เรื่อง 5 อ. การให้คำปรึกษาเรื่องต่างๆระหว่างสมาชิก การปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภค การทำอาหารสุขภาพรับประทานร่วมกัน การผลิตอาหารสุขภาพ และผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพจำหน่าย การตรวจสุขภาพและการประเมินสมรรถภาพทางกาย การร่วมรณรงค์ทางด้านสาธารณสุข
8. การขยายเครือข่าย
ชมรมสร้างสุขภาพต้นแบบทุกชมรมเมื่อมีการดำเนินกิจกรรมการสร้างสุขภาพแล้ว ได้มีการขยาย
เครือข่ายไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง โดยการไปสาธิต ฝึกทักษะ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การสนับสนุน การศึกษาดูงานของชมรมสร้างสุขภาพ ในหมู่บ้าน ตำบล และอำเภออื่นๆ
9. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ชมรมสร้างสุขภาพ 3 ชมรมไม่มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ ส่วนชมรมอื่นๆมีการนำภูมิปัญญา
ท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้และมีผลต่อการจัดกิจกรรมของชมรมสร้างสุขภาพ ได้แก่ ท่ารำมโนราห์
10. เศรษฐกิจ / การประกอบอาชีพ
เศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ มีผลต่อการรวมกลุ่มทำกิจกรรมของชมรมสร้างสุขภาพ เนื่องจาก
สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เมื่อทำงานเสร็จกลับถึงบ้านเป็นเวลาเย็นมาก ทำให้สมาชิกมีเวลาในการทำกิจกรรมน้อย หรือไม่มีเวลามารวมกิจกรรมของกลุ่ม
11. สิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน
สภาพแวดล้อมในหมู่บ้าน พบว่า บ้านของสมาชิกอยู่รวมกันเป็นกลุ่มไม่ห่างกันมาก ทำให้สมาชิก
สามารถมารวมกลุ่มเพื่อจัดกิจกรรมได้สะดวก และการเดินทางไม่ลำบาก
12. นโยบายของรัฐบาล
นโยบายการสร้างสุขภาพจะเกี่ยวข้องกับ เรื่องการออกกำลังกาย อาหาร รวมทั้งการปราบปราม
ยาเสพติดและการพนัน

ไม่มีความคิดเห็น: